การเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และขั้นตอนการพิจารณา
เจ้าของโครงการหรือผู้ได้รับมอบอำนาจจากโครงการจะต้องนำเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้
● สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
● เจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจอนุญาตตามกฎหมาย (กองควบคุมอาคาร สำนักงานโยธา)
● ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงาน EIA จังหวัดที่เป็นที่ตั้งของโครงการหรือกิจการ (กรุงเทพมหานคร คือกองควบคุมและจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม)
ขั้นตอนการพิจารณา EIA สำหรับโครงการที่ต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการและโครงการที่ไม่ต้องเสนอขอรับความเห็นชอบจากขั้นตอนการพิจารณา EIA สำหรับโครงการที่ต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการและโครงการที่ไม่ต้องเสนอขอรับความเห็นชอบจาก ครม.(ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม/ จัดทำใหม่ทั้งฉบับ)
ขั้นตอนการพิจารณา EIA สำหรับโครงการของรัฐ รัฐวิสาหกิจ โครงการร่วมกับเอกชน ซึ่งต้องเสนอขอรับความเห็นชอบจาก ครม.
● องค์ประกอบคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
● คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.)โครงการในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 19 (พ.ศ.2543) เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการในการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการที่จัดทำเสนอตามประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2543) ให้แต่งตั้งคณะกรรมการฯมีจำนวนไม่เกิน 15 คน ประกอบด้วย
1. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานกรรมการ
2. หัวหน้าราชการผู้มีอำนาจอนุญาตตามกฎหมายสำหรับโครงการหรือกรรมการกิจการที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม จำนวนไม่เกิน 2 คน
3. ผู้แทนกรมโยธาธิการและผังเมือง กรรมการ
4. ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรรมการ
5. ผู้แทนกรมควบคุมมลพิษ กรรมการ
6. ผู้แทนกรมที่ดิน กรรมการ
7. ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ
8. ผู้แทนคุณวุฒิในสาขาวิชาการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ด้านน้ำเสีย การใช้ดินและสุนทรียภาพ เป็นต้น กรรมการ
9. ผู้อำนวยการกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กรรมการ และเลขานุการ
10. เจ้าหน้าที่กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กรรมการ และผู้ช่วยเลขานุการไม่เกิน 2 คน